- ตัวบ่งชี้ที่ 1 - การรายงานการปฏิบัติงานการส่งเสริมศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
1
ตอนที่ 1 ศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
- ตัวบ่งชี้ที่ 1 - สำนักงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. มีสำนักงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม เป็นสัดส่วน และสามารถติดต่อได้สะดวก
2. มีป้ายสำนักงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาที่ถาวร และมีรายละเอียดครบถ้วน ตามแบบที่กำหนดในคู่มือ
3. มีแผนภูมิตามโครงสร้างการบริหารงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาที่มีรูปภาพ ตำแหน่งที่รับผิดชอบ ติดแสดงไว้อย่างชัดเจน
4. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการครบถ้วนตามโครงสร้างศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาระบุหน้าที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษาที่รับการประเมิน
5. มีความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ พื้นที่ บริการให้คำปรึกษา มุมวิชาการ ในการให้บริการของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
- ตัวบ่งชี้ที่ 2 - การบริหารงานของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. มีแผนการปฏิบัติงานประจำปี ของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ซึ่งจัดทำเป็นรูปเล่ม และได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสถานศึกษาแล้ว
2. มีปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปีของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา แสดงไว้ในศูนย์บ่มเพาะอย่างชัดเจน
3. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหารโดยหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะฯ ประกอบด้วย แผนการปฏิบัตงาน สรุปผลการดำเนินงานบ่มเพาะฯ การดำเนินธุรกิจของผู้เรียน รายงานการนิเทศและสรุปผลการใช้ศูนย์บ่มเพาะฯ เป็นแหล่งเรียนรู้
4. มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาด้วยช่องทางที่หลากหลายจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง
5. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
- ตัวบ่งชี้ที่ 3 - การสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. สถานศึกษามีการกำหนดการพัฒนาศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาและผู้เรียนไว้ในมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา
2. สถานศึกษามีการกำหนดโครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาและผู้เรียนไว้ในแผนพัฒนาสถานศึกษา และหรือแผนปฏิบัติราชการประจำปี
3. ผู้บริหารสถานศึกษามีการประชุมชี้แจงครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดยมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมครบถ้วน
4. สถานศึกษาสนับสนุนให้ส่งแผนธุรกิจเข้าร่วมประกวดหรือแข่งขันทักษะในเวทีต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด/ระดับภาค/ระดับชาติ ของปีการศึกษาที่รับการประเมินโดยมีหลักฐาน หนังสือนำส่ง ใบสมัคร รูปภาพ เกียรติบัต รางวัล ฯลฯ
5. ศูยย์บ่มเพาะฯ มีการรวบรวมฐานข้อมูลผู้เรียนที่ผ่านการบ่มเพาะ และสำเร็จการศึกษาแล้วที่เป็นเจ้าของธุรกิจซึ่งฐานข้อมูลประกอบด้วย รายชื่อผู้ประกอบการ ลักษณะธุรกิจ สถานที่ตั้ง รูปภาพ มีการเผยแพร่ฐานข้อมูลทางเว็บไซต์สถานศึกษา และรายงานฐานข้อมูลส่งสำนักงานคณะกรรม
ตอนที่ 2 การดำเนินการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
- ตัวบ่งชี้ที่ 1 - การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านการอบรม
2. มีคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านการอบรม
3. มีการประชุมและหลักฐานการประชุม โดยมีหลกฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมครบถ้วนสมบูรณ์
4. มีหนังสือเชิญวิทยากร/หนังสือขอบคุณวิทยากร
5. มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเพื่อสร้างความตระหนักในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
6. มีหลักฐานการจัดอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
7. มีหลักฐานการเข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
8. มีแผนธุรกิจจากการอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
10. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามกระบวนการ PDCA เป็นรูปเล่ม
- ตัวบ่งชี้ที่ 2 - การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านการศึกษาดูงานที่สอดคล้องกับธุรกิจ
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
4. มีเครื่องมือในการปะเมินผลความพึงพอใจการดำเนินงานศึกษาดูงานที่ชัดเจน
- ตัวบ่งชี้ที่ 3 - การประเมินคุณภาพ และความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. มีหนังสือเชิญบุคคลภายนอกและภายใน เพื่อมาร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินคัดเลือกแผนธุรกิจ
2. มีการดำเนินการประเมินคัดเลือกแผนธุรกิจ โดยพิจารณาจากใบลงชื่อปฏิบัติงาน รูปภาพ เป็นตัน
3. มีเกณฑ์การประเมินแผนธุรกิจที่ชัดเจน
4. มีร่องรอยการให้คะแนนการประเมินแผนธุรกิจ
5. มีการประกาศผลการประเมินแผนธุรกิจของสถานศึกษา
- ตัวบ่งชี้ที่ 4 - การส่งเสริมการประกอบธุรกิจ
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. มีบันทึกข้อความขออนุญาตดำเนินการตามแผนธุรกิจ ที่ผ่านการคัดเลือกตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
2. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานทั้งครูและผู้เรียน ตามแผนของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
3. มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ โดยมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมครบถ้วนสมบูรณ์
4. มีการแจ้งหรือประกาศการจัดสรรงบประมาณให้แก่ผู้ดำเนินการตามแผนธุรกิจที่ครบถ้วน
5. มีหลักฐานการจ่ายงบประมาณให้แก่ผู้ดำเนินการตามแผนธุรกิจที่ครบถ้วนตามที่จัดสรร
- ตัวบ่งชี้ที่ 5 - การดำเนินงานตามแผนธุรกิจใหม่
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. มีระยะเวลาในการดำเนินงานธรุกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 2 เดือน
2. หลักฐานแสดงการดำเนินงานตามภารกิจของผู้เรียน ประกอบด้วย บันทึกการประชุม การลงเวลาปฏิบัติงาน และรูปภาพการปฏิบัติงาน เป็นต้น
3. มีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนธุรกิจ
4. มีการจัดทำบัญชีของธุรกิจ ประกอบด้วย เอกสารรายรับ-รายจ่าย การบันทึกรายการรับ-จ่าย การรับรองบันทึกรายรับ รายจ่ายโดยครูที่ปรึกษาด้านบัญชีอย่างสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน
5. มีการรายงานสรุปผลการประกอบธุรกิจ ประกอบด้วยงบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน และรายงานการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
- ตัวบ่งชี้ที่ 6 - การดำเนินงานตามแผนธุรกิจเดิม หรือต่อยอดธุรกิจเดิม
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. มีระยะเวลาการดำเนินธุรกิจเดิมอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
2. มีหลักฐานแสดงการดำเนินงานตามธูรกิจเดิมของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เฃ่น รูปภาพการปฏิบัติงาน การลงเวลาปฏิบัติงาน การประชุม ฯลฯ
3. มีการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามแผนธุรกิจข้อเสนอแนะจากที่ปรึกษาธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
4. มีการจัดทำบัญชีธุรกิจ ประกอบด้วย เอกสารรายรับ-จ่าย การับรองบันทึกรายรับรายจ่ายโดยครูที่ปรึกษาด้านบัญชีอย่างสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน
5. มีการรายงานสรุปผลการประกอบธุรกิจ ประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน และรายงานการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
- ตัวบ่งชี้ที่ 7 - การใช้ธุรกิจในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษาธุรกิจหรือครูที่เกี่ยวข้อง
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1.มีหลักฐานการประชาสัมพันธ์การให้ใช้ธุรกิจของผู้เรียนเป็นแหล่งเรียนรูู้ โดยใช้ช่องที่หลากหลาย ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง
2. มีหลักฐานการใช้ธุรกิจของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย บันทึกการขอเข้าศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายใน สมุดบันทึกการเยี่ยมชม และภายถ่ายการศึกษาดูงาน
3. มีหลักฐานการใช้ธุรกิจของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้จากหน่ยงานภายนอก ปรกอบด้วย หนังสือการขอเข้าศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก สมุดบันทึกการเยี่ยมชม และภายถ่ายการศึกษาดูงาน
4. มีหนังสือแจ้งเชิญครูที่เกี่ยวกับการบ่มเพาะฯ เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ บันทึกข้อความขอเข้ารับการฝึกอบรม และหนังสือคำสั่งอนุญาตให้เข้ารับการฝึกอบรม
5. มีรายงานการฝึกอบรม พร้อมด้วยเกียรติบัตร หรือวุฒิบัตร หรือประกาศนียบัตร หรือภาพถ่าย
ตอนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ของการบ่มเพาะผู้เรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการ
- ตัวบ่งชี้ที่ 1 - ผลสัมฤทธิ์ของการบ่มเพาะผู้เรียนและการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
1. ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ได้ประกอบธุรกิจระหว่างเรียน ไม่น้อยกว่า 3 คน
2. มีการนำสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงการ งานวิจัย ฯลฯ มต่อยอดเชิงพาณิชย์ ด้านสินค้า/บริการ ไม่น้อยกว่า 1 คน
3. มีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ความยั่งยืนของธุรกิจในประเด็นการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน แผนการตลาดในอนาคต
4. มีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ความยั่งยืน และความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาที่ผ่านมา และฐานะการเงินของธุรกิจ ณ วันสิ้นงวดของการดำเนินธุรกิจ ในรูปของงบการเงิน
5. ผู้เรียนที่ผ่านการบ่มเพาะจากศูนย์บ่มเพาะฯ สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 1 คน